link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร

บริการสืบค้น

Custom Search

PostHeaderIcon คุ้มเจ้าหลวง พิริยะชัยเทพวงศ์

อยู่ที่ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารที่หรูหราสง่างาม และโอ่โถง คือ มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ

คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 – 17 มีนาคม 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมล่วงหน้า ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ หรือติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าได้ที่ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. (054) 511411

PostHeaderIcon วัดพระธาตุจอมแจ้ง

   อยู่ในท้องที่ตำบลช่อแฮ เลยพระธาตุช่อแฮไป 1 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดราว 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1331 ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้งเนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่างพอดี ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้ง เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า ที่นี่มีศาลาเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง หรือพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก

    ประวัติความเป็นมาของพระธาตุจอมแจ้งที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน มีใจความว่าสร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ. ๑๕๐ ตรงกับ พ.ศ. ๑๓๓๑ ซึ่งเป็นสมัยหริภุญชัย โดยใช้หลักฐานที่ขุดได้ในบริเวณวัดประกอบ ได้แก่ พระพุทธรูปดินเผาที่เรียกกันว่า พระคงแดงและพระคงขาว แต่เดิมองค์พระธาตุมีความกว้างด้านละ ๑๐ เมตร สูง ๒๙ เมตร มีความสำคัญในฐานะที่เป็นที่บรรจุพระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ พระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

     มีตำนานซึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพระธาตุว่า “ ปางเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรด ๑ ตายายผู้ยากไร้ซึ่งทำไร่เผือกมันอยู่บนเขานี้ ขณะที่เสด็จมาถึงบริเวณเขาลูกนี้เป็นเวลาจวนสว่าง พระองค์ทรงทอดพระเนตรหาน้ำเพื่อสร้างพระพักตร์แต่ไม่พบ เพราะเป็นฤดูแล้งและอยู่บนที่สูงพระพุทธองค์จึงทรงอธิษฐานแล้วใช้พระหัตถ์เบื้องขวาเจาะบ่อน้ำบนดอยลูกนี้ ปรากฏว่ามีน้ำใสสะอาดพุ่งขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ เมื่อ ๑ ตามยาผู้ยากไร้ได้เฝ้าพระพุทธองค์ ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงขอเป็นอุบาสกอุบาสิกา พร้อมทั้งกราบทูลของพระเกศาพระพุทธองค์เอาไว้กราบไหว้บูชา โดยจะสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ให้มีขนาดสูง ๔ วา ๒ ศอก และตั้งชื่อว่า พระธาตุจอมแจ้ง ”
     อนึ่ง จากพระราชพงศาวดาร ( ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ) ได้กล่าวถึงพระธาตุจอมแจ้งว่าในจุลศักราช ๖๑๔ ( พ . ศ . ๑๗๙๕ ) พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเป็นผู้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงมีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ในเมืองเหนือ จึงยกพลช้าง พลม้าและข้าทาสบริวารจำนวนมาก เดินทางจากศรีสัชนาลัยเข้าสู่เขตโกสัยนคร ( เมืองแพร่ ) เมื่อเดินทางมาถึงบ้านกวาง ( เขตอำเภอสูงเม่นในปัจจุบัน ) ช้างเผือกหน้าเกิดเหนื่อยอ่อนเดินต่อไปไม่ไหวถึงกับหมอบลงกับพื้นและเสียชีวิตลง พระญาลิไทจึงได้แบ่งทรัพย์สมบัติจากช้างเชือกนั้น สร้างวัดขึ้นที่บ้านกวาง หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อว่า “ บ้านกวางช้างมูบ ” จากนั้น พระญาลิไทได้เดินทางต่อซึ่งขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน จนถึงเขาลูกหนึ่งทางทิศตะวันออกของบ้านกวางซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างเต็มที พระองค์ได้หยุดพักไพร่พลเพื่อทำการบูณปฏิสังขรณ์วัดซึ่งมีซากพระเจดีย์ปรากฏให้เห็นอยู่ ๒ องค์ พร้อมทั้งทำการบูรณพระอุโบสถกำแพงแก้วและบันไดนาค ตลอดจนทำการหุ้มทองจังโกองค์พระธาตุและสร้างวิหาร นอกจารนี้ทรงบูรณะเจดีย์อีกองค์หนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงแก้วด้านนอก โดยสร้างครอบองค์เดิม แต่ให้มีฐานกว้างกว่าเดิมประมาณ ๑ เมตร หลังจากที่สร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จ นางสนมของพระญาลิไท ๒ นางคือ นางแก๋วและนางแมนได้เสียชีวิตลง ณ บริเวณนั้น วิญญาณของนางทั้งสองจึงได้สิงสถิตอยู่ที่องค์พระธาตุดังกล่าว เหตุการณ์ในตอนนี้แผ่นจารึกประวัติของวัดกล่าวว่าในปี พ . ศ . ๑๙๐๐ สมเด็จพระมหาธรรมลิไท โปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ครอบองค์เดิมโดยมีขนาดใหญ่ขึ้น
    นอกจากนี้ มีต่ำนานอื่นที่เล่าต่อ ๆ กันมา ใจความว่าหลังจากที่พ่อขุนผาเมืองมาช่วยตีเมืองสุโขทัยได้แล้ว ทรงประทับที่เชียงแสนเป็นเวลา ๓ ปี จึงโปรดให้ต่อฐานพระธาตุจอมกิตติซึ่งเดิมยาวด้านละ ๖ เมตร ให้เป็น ๗ เมตร และทรงเสริมยอดพระธาตุใหม่ โดยเพิ่มเหนือคอระฆังเป็นรูปกลีบมะเฟืองหรือปลี อีกทั้งทรงเพิ่มลูกแก้วที่ตอนบนของพระมหามงกุฎอีกลูกหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้อัญเชิญพระธาตุขึ้นบรรจุไว้ในพระธาตุอมกิตติอีก ๑๓ องค์ รวมกับพระธาตุเดิมจึงเป็น ๒๔ ในครั้งนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ต่อมาเมื่อพ่อขุนผาเมืองสวรรคต พระอัฐิได้รับการบรรจุที่บริเวณพระธาตุจอมกิตตินั่นเอง ในระยะหลังเมื่อพระธาตุชำรุดทรุดโทรมลงก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา นับแต่ พ . ศ . ๒๐๓๐ ซึ่งเจ้าหมื่นเชียงสงหรือหมื่นเป้า ผู้ครองเมืองเชียงแสนในขณะนั้นเป็นผู้ทำการบูรณะ แต่ข้อความตอนหนึ่งจากตำนานเมืองเชียงแสนซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาพื้นเมือง ของพระยาแสนสิทธิเขตอดีตนายอำเภอพะเยา ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์ไว้ในหนังสือเมืองพะเยากล่าวว่า “ วันเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะแม ศักราช ๘๔๙ หมื่นเชียงแสนสงสร้างพระธาตุจอมกิตติ กว้าง ๔ วา สูง ๑๒ วา ๒ ศอก เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าสถาปนาพระเกศธาตุแล้วทรงทำนายว่า ธาตุกระดูก หน้าผาก กระดูกอก กระดูกแขนขวาจักมาสถิตอยู่ ณ ที่นี่ …”

     ต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๒๓๗ ( บางตำรากล่าวว่า พ.ศ. ๒๒๒๘ ) เจ้าฟ้าเฉลิมเมืองพร้อมกับคณะศรัทธาเมืองเชียงแสนได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้ง จากนั้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐พระธาตุถูกขุดเจาะทำลายเพื่อหาของมีค่า จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หน่วยศิลปากรที่ ๔ จึงได้ทำการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดนั้น



อนึ่ง ในหนังสือล้านนาไทยได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าวัดพระธาตุจอมกิตติซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุจอมกิตตินั้นมีวัดจอมแจ้งตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน และปรากฏชื่อรวมกับวัดพระธาตุจอมกิตติด้วย แต่องค์เจดีย์ของวัดจอมแจ้งเหลือเพียงฐาน ภายหลังจึงได้รับการต่อเติมขึ้นไปโดยอาศัยรูปแบบของเจดีย์ทรงกลมที่วัดพระยืน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน ซึ่งมีประวัติการก่อสร้างอยู่ในสมัยเดียวกัน คือช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และเป็นเจดีย์แบบอย่างของเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา
    สภาพปัจจุบันขององค์พระเจดีย์ คือฐานบัวลูกแก้วต่อด้วยหน้ากระดาษรับเรือนธาตุ ย่อมุมไม้สิบสอง สูงขึ้นไปมีซุ้มจระนำประดิษฐพระพุทธรูปทั้ง ๔ ทิศ เหนือขึ้นไปอีกเป็นหน้ากระดาษกลม องค์ระฆัง ต่อฐานเขียงสี่เหลี่ยมมาลัยลูกแก้วแปดเหลี่ยมลดหลั่น ๓ ชั้น บัวปากฐานรองรับองค์ระฆังบัวถลา ๒ ชั้น ต่อปล้องไฉนและปลียอดปักฉัตร สำหรับฐานทักษิณตอนล่างสุดเป็นลานรูปสี่เหลี่ยมซึ่งกว้างมาก โดยมีความกว้างด้านละ ๓๕ . ๕๐ เมตร ทางทิศตะวันออกมองลงมายังเบื้องล่างจะเห็นภายในเมืองเชียงแสนและแม่น้ำโขงได้ชัดเจนมาก นอกจากนี้งานศิลปกรรมบนองค์เจดีย์มีลายปูนปั้นซึ่งใช้เทคนิคแบบหนึ่ง คือปั้นสำเร็จบนลายเป็นเส้นก่อนแล้วจึงนำไปแปะติดกับผนังซึ่งทำเสร็จแล้ว ส่วนองค์ประกอบของลวดบัวต่าง ๆ ที่ประดับขึ้นเป็นองค์เจดีย์นั้นก็เป็นลักษณะประจำท้องถิ่นที่พบเฉพาะเจดีย์ในเขตเมืองเชียงแสนเท่านั้น อนึ่ง ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุยังมีบ่อน้ำทิพย์ซึ่งมีน้ำสะอาดอยู่ตลอดเวลา

PostHeaderIcon วัดจอมสวรรค์

ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตำบลทุ่งกวาว ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรมพม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุภายในวัด ได้แก่ หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปาติโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็นอักษรพม่า และยังมี บุษบก ลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน